ClickClickClickClickClick

เพลงเพราะๆ

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์




อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่ อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของประเทศไทย มีสภาพป่าเป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสายและเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่าง ๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่

ลักษณะภูมิประเทศ


สภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาสูงที่สุดในประเทศไทย สูงจากระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมา คือดอยหัวหมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ดอยอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำ แม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล

ลักษณะภูมิอากาศ


เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงถึง 2,565 เมตรอากาศจึงหนาวเย็นตลอดปีความชื้นสูงมากโดยเฉพาะบนดอย แม้นำฟืนมาก่อไฟก็จะติดไฟได้ยาก ในฤดูหนาวอุณหภูมิจะลดต่ำกว่าศูนย์องศาเซลเซียสทุกปี ในฤดูร้อนแม้ว่าอากาศในตัวเมืองเชียงใหม่หรืออำเภอใกล้เคียงจะร้อน แต่บนยอดดอยอินทนนท์ยังมีอากาศหนาวเย็นอยู่จะต้องสวมเสื้อกันหนาว ฉะนั้นผู้ที่จะไปเที่ยวดอยอินทนนท์ควรจัดเตรียมเสื้อหนา ๆ ติดตัวไปด้วย

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า


ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีหลายชนิด คือ ป่าดิบเขา ป่าสน ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ มีพันธุ์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจดังนี้ คือ สัก ตะเคียน สนเขา เต็ง เหียง มะเกลือ แดง ประดู่ รกฟ้า มะค่า เก็ดแดง จำปีป่า ตะแบก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีดอกไม้ป่าที่สวยงามหลายชนิด เช่น ฟ้ามุ่ย ช้างแดง รองเท้านารี และกุหลาบป่า สำหรับมอส ข้าวตอกฤาษี ออสมันด้า มีอยู่ทั่วไปในระดับสูง

สัตว์ป่าในบริเวณอุทยานแห่งชาติที่นี้มีจำนวนลดลงไปมาก เนื่องจากถูกชาวเขาเผ่าต่างๆ ล่าเป็นอาหาร และป่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยถูกแผ้วถางลงมาก ทำให้สัตว์ใหญ่บางชนิดหมดไปจากป่านี้ ปัจจุบันสัตว์ที่หลงเหลืออยู่บ้าง ได้แก่ เลียงผา กวางผา กวาง เสือ หมูป่า หมี ชะนี กระต่ายป่า และ ไก่ป่า

วิกฤตสิ่งแวดล้อม


วิกฤตสิ่งแวดล้อม (Environmental Crisis)

ได้ฤกษ์เปิดตัวสักทีครับสำหรับคอลัมน์ใหม่
ภายในเวปไซด์ของศูนย์วิจัยและฝึกอบรมนิเวศวิทยา
อุตสาหกรรม ก็คงเป็นไปตามธรรมเนียมเช่นเคยนะครับ
ที่ผมเองในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ฯต้องเขียนประเดิมเป็น
บทความแรก เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย สร้างขวัญและกำลังใจให้
กับผู้ร่วมงานคนอื่นๆ หรือนักเขียนหน้าใหม่ที่ยังลังเลอยู่
ได้ลองจรดปลายนิ้วไปที่แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์
แล้วลองสร้างสรรค์ผลงาน ถ่ายทอดประสบการณ์ ผ่านตัวหนังสือ
เพื่อมาเผยแพร่ให้คนอื่นๆได้สัมผัสบ้าง
คอลัมน์นี้ที่ทางคณะผู้ดำเนินงานของศูนย์ฯได้ตั้งขึ้นมาก็มี
วัตถุประสงค์อย่างที่เกริ่นไว้ในตอนต้นนั่นแหละครับ วัตถุประสงค์
หลักเลยก็คืออยากให้มีพื้นที่สำหรับงานเขียน ทั้งเชิงวิชาการ
เชิงสร้างสรรค์ หรือจะเป็นเขียนเล่น เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้
ประสบการณ์ รวมถึงแลกเปลี่ยนทัศนคติ ของชุมชนที่มุ่งประเด็นในมิติ
ของสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ย้ำนะครับว่าคอลัมน์นี้อยากให้งานเขียน
ที่จะมาลงเป็นงานเขียนที่มีมิติทางสิ่งแวดล้อมเข้าไปผสมปนเปอยู่ด้วย
จะมากน้อยก็แล้วแต่คนปรุง ซึ่งก็คือผู้เขียนละครับ ว่าอยากให้เข้มข้นแค่ไหน




พูดถึงมิติทางสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน คงหลีกเลี่ยงได้ยากครับที่จะไม่มีการพูดถึงเลย โดยเฉพาะวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลก หรือ Global environmental crisis ที่ปะทุอยู่ควบคู่กับวิกฤตเศรษฐกิจ หรือ วิกฤตแฮมเบอเกอร์ที่ลุกลามอยู่ในปัจจุบันเช่นเดียวกัน ผมได้ยินนักธุรกิจในประเทศหลายๆคนพูดว่า ปีหน้านะเผาจริงแน่….!!! นั่นแสดงว่าปีนี้ก็กลายเป็นศพไปเรียบร้อยแล้วละครับ มิเช่นนั้นคงจะเผาไม่ได้ จริงไหมครับ หลายๆคนยังไม่รู้สึก แต่ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมนะ รับทราบและได้รับผลกระทบมาตั้งแต่กลางปีแล้วละครับ

กลับมาที่ประเด็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมดีกว่าครับ หลายๆคนอาจจะยังสับสนอยู่ว่า ประเด็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมนั้นแบ่งออกได้เป็นกี่ระดับ และอะไรบ้าง ผมได้มีโอกาสไปนั่งฟังผู้เชี่ยวชาญทั้งใน และต่างประเทศ พูดสัมมนาเชิงวิชาการให้ฟังในหลายๆที่ พอที่จะสามารถสรุปออกมาตามความคิดตนเองได้ว่า วิกฤตสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันนี้แบ่งแยกระดับออกได้เป็น 3 ระดับครับ คือ วิกฤตสิ่งแวดล้อมระดับโลก วิกฤตสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาค (Regional environmental crisis) และวิกฤตสิ่งแวดล้อมระดับพื้นที่ (Local environmental crisis) ซึ่งวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในความสนใจมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นระดับโลกนั้นละครับ โดยประเด็นที่ถือเป็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมระดับโลกได้อยู่ 3 ประเด็นครับ ได้แก่

ประเด็นการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ (Depletion of Natural Resource)
ประเด็นวิกฤตพลังงาน (Energy Crisis) และสุดท้ายที่สุดฮอทฮิต ก็คือ
ประเด็นภาวะโลกร้อน (Global Warming)
ทั้ง 3 ประเด็นข้างต้นจัดเป็นประเด็นที่ถือว่าเป็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมในระดับโลกครับ ในระดับโลกในที่นี้ก็คงหมายถึงกระทบกับสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้ ไม่เว้นแม้แต่ พืช หรือสัตว์ครับ ในขณะที่ประเด็นที่จัดเป็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาค และระดับพื้นที่ ก็จะได้แก่ การลดลงของพื้นที่ป่าไม้ ปัญหาการขาดแคลนน้ำ การลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ ปัญหาการจัดการของเสีย เป็นต้น อธิบายอย่างนี้คงจะมองภาพวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ชัดเจนมากขึ้นนะครับ คราวหน้าผมจะเจาะลึกถึงรายละเอียดของประเด็นที่เป็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมระดับโลกทีละประเด็น ให้ผู้อ่านทุกท่านได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นครับ ที่ทิ้งท้ายอย่างนี้ก็เพราะอยากให้ผู้อ่านทุกท่านติดตามคอลัมน์ร้อยแปดพันเก้าเรื่องราวสิ่งแวดล้อมของเราก็เท่านั้นละครับ ไม่มีอะไรมาก อีกอย่างเขียนเป็นตอนๆ ตอนสั้นๆก็สนุกดี ไม่รู้สึกว่าต้องมีภาระเยอะนะครับ ยังไงซะก็ขอให้ติดตามต่อนะครับ

โลกของเราประกอบขึ้นด้วยพื้นดินและพื้นน้ำ โดยส่วนที่เป็นฝืนน้ำนั้น มีอยู่ประมาณ 3 ส่วน (75%) และเป็นพื้นดิน 1 ส่วน (25%) น้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งกับชีวิตของพืชและสัตว์บนโลกรวมทั้งมนุษย์เราด้วย

น้ำเป็นทรัพยากรที่สามารถเกิดหมุนเวียนได้เรื่อย ๆ ไม่มีวันหมดสิ้น เมื่อแสงแดดส่องมาบนพื้นโลก น้ำจากทะเลและมหาสมุทรก็จะระเหยเป็นไอน้ำลอยขึ้นสู่เบื้องบนเนื่องจากไอน้ำมีความเบากว่าอากาศ เมื่อไอน้ำลอยสู่เบื้องบนแล้ว จะได้รับความเย็นและกลั่นตัวกลายเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ ลอยจับตัวกันเป็นกลุ่มเฆม เมื่อจับตัวกันมากขึ้นและกระทบความเย็นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นโลก น้ำบนพื้นโลกจะระเหยกลายเป็นไอน้ำอีกเมื่อได้รับความร้อนจากดวงทิตย์ ไอน้ำจะรวมตัวกันเป็นเมฆและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำกระบวนการเช่นนี้ เกิดขึ้นเป็นวัฏจักรหมุนเวียนต่อเนื่องกันตลอดเวลา เรียกว่า วัฏจักรน้ำทำให้มีน้ำเกิดขึ้นบนผิวโลกอยู่สม่ำเสมอ



ประโยชน์ของน้ำ

น้ำเป็นแหล่งกำเนิดชีวิตของสัตว์และพืชคนเรามีชีวิตอยู่โดยขาดน้ำได้ไม่เกิน 3 วัน และน้ำยังมีความจำเป็นทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ ประโยชน์ของน้ำ ได้แก่

§ น้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่เราใช้สำหรับการดื่มกิน การประกอบอาหาร ชำระร่างกาย ฯลฯ

§ น้ำมีความจำเป็นสำหรับการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ แหล่งน้ำเป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ซึ่งคนเราใช้เป็นอาหาร

§ ในการอุตสาหกรรม ต้องใช้น้ำในขบวนการผลิตใช้ล้างของเสียใช้หล่อเครื่องจักรและระบายความร้อน ฯลฯ

§ การทำนาเกลือโดยการระเหยน้ำเค็มจากทะเล

§ น้ำเป็นแหล่งพลังงาน พลังงานจากน้ำใช้ทำระหัด ทำเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าได้

§ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล มหาสมุทร เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งที่สำคัญ

§ ทัศนียภาพของริมฝั่งทะเลและน้ำที่ใสสะอาดเป็นแหล่งท่องเที่ยวของมนุษย์

ปัญหาของทรัพยากรน้ำ

ปัญหาสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้น คือ

1. ปัญหาการมีน้ำน้อยเกินไป เกิดการขาดแคลนอันเป็นผลเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ปริมาณน้ำฝนน้อยลง เกิดความแห้งแล้งเสียหายต่อพืชเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์

2. ปัญหาการมีน้ำมากเกินไป เป็นผลมาจากการตัดไม้มากเกินไป ทำให้เกิดน้ำท่วมไหลบ่าในฤดูฝน สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน

3. ปัญหาน้ำเสีย เป็นปัญหาใหม่ในปัจจุบัน สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำเสีย ได้แก่

น้ำทิ้งจากบ้านเรือน ขยะมูลฝอยและสิ่งปฎิกูลที่ถูกทิ้งสู่แม่น้ำลำคลอง
น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
น้ำฝนพัดพาเอาสารพิษที่ตกค้างจากแหล่งเกษตรกรรมลงสู่แม่น้ำลำคลอง
น้ำเสียที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลเสียหายทั้งต่อสุขภาพอนามัย เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ และมนุษย์ ส่งกลิ่นเหม็น รบกวน ทำให้ไม่สามารถนำแหล่งน้ำนั้นมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งการอุปโภค บริโภค เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม

ผลกระทบของน้ำเสียต่อสิ่งแวดล้อม

เป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรค เช่น อหิวาตกโรค บิด ท้องเสีย
เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงนำโรคต่าง ๆ
ทำให้เกิดปัญหามลพิษต่อดิน น้ำ และอากาศ
ทำให้เกิดเหตุรำคาญ เช่น กลิ่นเหม็นของน้ำโสโครก
ทำให้เกิดการสูญเสียทัศนียภาพ เกิดสภาพที่ไม่น่าดู เช่น สภาพน้ำที่มีสีดำคล้ำไปด้วยขยะ และสิ่งปฎิกูล
ทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ เช่น การสูญเสียพันธุ์ปลาบางชนิดจำนวนสัตว์น้ำลดลง
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศในระยะยาว
การอนุรักษ์น้ำ



ดังได้กล่าวมาแล้วจะเห็นว่า น้ำมีความสำคัญและมีประโยชน์มหาศาล เราจึงควรช่วยแก้ไขปัญหาน้ำเสียหรือการสูญเสียทรัพยากรน้ำด้วยการอนุรักษ์น้ำ ดังนี้

1. การใช้น้ำอย่างประหยัด การใช้น้ำอย่างประหยัดนอกจากจะลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าน้ำลงได้แล้ว ยังทำให้ปริมาณน้ำเสียที่จะทิ้งลงแหล่งน้ำมีปริมาณน้อย และป้องกันการขาดแคลนน้ำได้ด้วย

2. การสงวนน้ำไว้ใช้ ในบางฤดูหรือในสภาวะที่มีน้ำมากเหลือใช้ควรมีการเก็บน้ำไว้ใช้ เช่น การทำบ่อเก็บน้ำ การสร้างโอ่งน้ำ ขุดลอกแหล่งน้ำ รวมทั้งการสร้างอ่างเก็บน้ำ และระบบชลประทาน

3. การพัฒนาแหล่งน้ำ ในบางพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำ จำเป็นที่จะต้องหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถมีน้ำไว้ใช้ ทั้งในครัวเรือนและในการเกษตรได้อย่างพอเพียง ปัจจุบันการนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้กำลังแพร่หลายมากขึ้นแต่อาจมีปัญหาเรื่องแผ่นดินทรุด

4. การป้องกันน้ำเสีย การไม่ทิ้งขยะและสิ่งปฎิกูลและสารพิษลงในแหล่งน้ำ น้ำเสียที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ควรมีการบำบัดและขจัดสารพิษก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ

5. การนำน้ำเสียกลับไปใช้ น้ำที่ไม่สามารถใช้ได้ในกิจการอย่างหนึ่งอาจใช้ได้ในอีกกิจการหนึ่ง เช่น น้ำทิ้งจากการล้างภาชนะอาหาร สามารถนำไปรดต้นไม้ได้

การอนุรักษ์และการจัดการช้างในประเทศไทย


ในปัจจุบันประเทศไทยมีช้างอยู่ประมาณ 6,000 ตัว เป็นช้างบ้าน 3,000 ตัว ซึ่งร้อยละ 95 อยู่ในการครอบครองของเอกชน
แม้ว่าอัตราการเกิดของช้างบ้านจะเพิ่มขึ้นจากในอดีต เนื่องจากโครงการสัตวแพทย์สัญจรที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในช่วงหนึ่ง ทศวรรษที่ผ่านมา
แต่ในระยะยาว ประชากรช้างบ้านจะมีแนวโน้มลดลงเพราะส่วนใหญ่เป็นช้างที่มีอายุมากและอัตรา การตายของลูกช้างค่อนข้างสูง ปัญหาช้างบ้าน
ได้แก่ ช้างเร่ร่อนและการใช้ช้างในการทำธุรกิจท่องเที่ยวซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาช้าง บ้านได้ทั้งหมด การรณรงค์หาทุนที่ผ่านมาเน้นไปเพื่อการ
ดูแลสุขภาพของช้างและคำนึงถึงด้าน มนุษยธรรมมากกว่าการอนุรักษ์สัตว์ป่าแต่เพียงอย่างเดียว การจัดการกับปัญหาของช้างบ้านในอนาคต
ควรคำนึงถึงการอนุรักษ์สัตว์ป่าควบคู่ กับการส่งเสริมวัฒนธรรมความสัมพันธ์ระหว่างคนกับช้าง รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของควาญช้าง
ส่วนช้างป่ามีประมาณ 3,000 ตัว อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างน้อย 65 แห่ง ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในหย่อมป่าและเป็นประชากรขนาดเล็ก
(น้อยกว่า 100 ตัว) มีกลุ่มป่า 6 แห่ง ที่สามารถดำเนินการบริหารจัดการเพื่อให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ช้างป่า คือ การที่ช้างป่าออกมาทำลาย
พืชไร่ของราษฎร แต่เนื่องจากการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วโดยโครงการพระราชดำริ การที่ช้างป่าส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์และทัศนคติ
ที่ดีของราษฎรในท้อง ถิ่นที่มีต่อช้าง ทำให้ปัญหาไม่รุนแรงเท่าที่ควร แต่แนวโน้มของปัญหาในอนาคตจะเกิดบ่อยขึ้นและรุนแรงมากขึ้น
เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนช้างป่าในหลายพื้นที่ ความสำเร็จของการอนุรักษ์ช้างป่าจะขึ้นกับการลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคน
กับช้างโดยการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องและอยู่บนฐานของความ รู้และความเข้าใจเกี่ยวกับช้างป่าตลอดจนเศรษฐกิจและ
สังคมของราษฎรที่ได้รับ ผลกระทบในแต่ละพื้นที่

ป่าไม้ สายน้ำ คืนแก่แผ่นดิน

การอนุรักษ์ป่าไม้


ความจำเป็นที่ต้องมีการอนุรักษ์
ในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ชาติ เพื่อแสวงหาการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาตินั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงความจริงที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนั้นคือ ขีดจำกัดของทรัพยากรสมดุลของระบบนิเวศความเป็นมาของด้านวัฒนธรรมรวมถึงความต้องการของมนุษย์ในอนาคต ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "อนุรักษ์"

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์หลักอยู่ 4 ประการ คือ
1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งปัจจัยสำคัญของระบบสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสัตว์ และระบบสนับสนุนการดำรงชีวิต เป็นการปรับปรุงป้องกันพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก การหมุนเวียนแร่ธาตุอาหารพืช ตลอดจนการทำน้ำให้สะอาด
2. เพื่อสงวนรักษาการกระจายของชาติพันธุ์ ซึ่งขึ้นกับโครงการขยายพันธุ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการปรับปรุงการป้องกันธัญญพืช สัตว์เลี้ยง และจุลินทรีย์ต่าง ๆ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีตลอดจนการคุ้มครองอุตสาหกรรม นานาชาติที่ใช้ทรัพยากรที่มีชีวิตเป็นวัตถุดิบ
3. เพื่อเป็นหลักประกันในการใช้พันธุ์พืชสัตว์และระบบนิเวศเพื่อประโยชน์ในการยังชีพตามความเหมาะสม
4. เพื่อสงวนรักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปกรรม ซึ่งเป็นมรดกล้ำค่าไว้ไปยังอนุชนรุ่นหลังรวมทั้งระบบสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น

การบำรุงรักษาป่า ควรปฏิบัติ ดังนี้
1) ป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า
2) หาแหล่งทำมาหากินให้ชาวเขาอยู่เป็นหลักแหล่ง เพื่อเป็นการป้องกันการทำไร่เลื่อนลอย
3) ส่งเสริมการปลูกป่าทดแทน
4) ปิดป่าไม่อนุญาตให้มีการทำไม้
5) ใช้วัตถุอื่นทดแทนผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้
6) ตั้งหน่วยป้องกันไฟป่า
7)ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจแกประชาชน เพื่อให้เห็นความสำคัญของป่าไม้