วิกฤตสิ่งแวดล้อม (Environmental Crisis)
ได้ฤกษ์เปิดตัวสักทีครับสำหรับคอลัมน์ใหม่
ภายในเวปไซด์ของศูนย์วิจัยและฝึกอบรมนิเวศวิทยา
อุตสาหกรรม ก็คงเป็นไปตามธรรมเนียมเช่นเคยนะครับ
ที่ผมเองในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ฯต้องเขียนประเดิมเป็น
บทความแรก เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย สร้างขวัญและกำลังใจให้
กับผู้ร่วมงานคนอื่นๆ หรือนักเขียนหน้าใหม่ที่ยังลังเลอยู่
ได้ลองจรดปลายนิ้วไปที่แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์
แล้วลองสร้างสรรค์ผลงาน ถ่ายทอดประสบการณ์ ผ่านตัวหนังสือ
เพื่อมาเผยแพร่ให้คนอื่นๆได้สัมผัสบ้าง
คอลัมน์นี้ที่ทางคณะผู้ดำเนินงานของศูนย์ฯได้ตั้งขึ้นมาก็มี
วัตถุประสงค์อย่างที่เกริ่นไว้ในตอนต้นนั่นแหละครับ วัตถุประสงค์
หลักเลยก็คืออยากให้มีพื้นที่สำหรับงานเขียน ทั้งเชิงวิชาการ
เชิงสร้างสรรค์ หรือจะเป็นเขียนเล่น เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้
ประสบการณ์ รวมถึงแลกเปลี่ยนทัศนคติ ของชุมชนที่มุ่งประเด็นในมิติ
ของสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ย้ำนะครับว่าคอลัมน์นี้อยากให้งานเขียน
ที่จะมาลงเป็นงานเขียนที่มีมิติทางสิ่งแวดล้อมเข้าไปผสมปนเปอยู่ด้วย
จะมากน้อยก็แล้วแต่คนปรุง ซึ่งก็คือผู้เขียนละครับ ว่าอยากให้เข้มข้นแค่ไหน
พูดถึงมิติทางสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน คงหลีกเลี่ยงได้ยากครับที่จะไม่มีการพูดถึงเลย โดยเฉพาะวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลก หรือ Global environmental crisis ที่ปะทุอยู่ควบคู่กับวิกฤตเศรษฐกิจ หรือ วิกฤตแฮมเบอเกอร์ที่ลุกลามอยู่ในปัจจุบันเช่นเดียวกัน ผมได้ยินนักธุรกิจในประเทศหลายๆคนพูดว่า ปีหน้านะเผาจริงแน่….!!! นั่นแสดงว่าปีนี้ก็กลายเป็นศพไปเรียบร้อยแล้วละครับ มิเช่นนั้นคงจะเผาไม่ได้ จริงไหมครับ หลายๆคนยังไม่รู้สึก แต่ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมนะ รับทราบและได้รับผลกระทบมาตั้งแต่กลางปีแล้วละครับ
กลับมาที่ประเด็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมดีกว่าครับ หลายๆคนอาจจะยังสับสนอยู่ว่า ประเด็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมนั้นแบ่งออกได้เป็นกี่ระดับ และอะไรบ้าง ผมได้มีโอกาสไปนั่งฟังผู้เชี่ยวชาญทั้งใน และต่างประเทศ พูดสัมมนาเชิงวิชาการให้ฟังในหลายๆที่ พอที่จะสามารถสรุปออกมาตามความคิดตนเองได้ว่า วิกฤตสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันนี้แบ่งแยกระดับออกได้เป็น 3 ระดับครับ คือ วิกฤตสิ่งแวดล้อมระดับโลก วิกฤตสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาค (Regional environmental crisis) และวิกฤตสิ่งแวดล้อมระดับพื้นที่ (Local environmental crisis) ซึ่งวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในความสนใจมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นระดับโลกนั้นละครับ โดยประเด็นที่ถือเป็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมระดับโลกได้อยู่ 3 ประเด็นครับ ได้แก่
ประเด็นการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ (Depletion of Natural Resource)
ประเด็นวิกฤตพลังงาน (Energy Crisis) และสุดท้ายที่สุดฮอทฮิต ก็คือ
ประเด็นภาวะโลกร้อน (Global Warming)
ทั้ง 3 ประเด็นข้างต้นจัดเป็นประเด็นที่ถือว่าเป็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมในระดับโลกครับ ในระดับโลกในที่นี้ก็คงหมายถึงกระทบกับสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้ ไม่เว้นแม้แต่ พืช หรือสัตว์ครับ ในขณะที่ประเด็นที่จัดเป็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาค และระดับพื้นที่ ก็จะได้แก่ การลดลงของพื้นที่ป่าไม้ ปัญหาการขาดแคลนน้ำ การลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ ปัญหาการจัดการของเสีย เป็นต้น อธิบายอย่างนี้คงจะมองภาพวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ชัดเจนมากขึ้นนะครับ คราวหน้าผมจะเจาะลึกถึงรายละเอียดของประเด็นที่เป็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมระดับโลกทีละประเด็น ให้ผู้อ่านทุกท่านได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นครับ ที่ทิ้งท้ายอย่างนี้ก็เพราะอยากให้ผู้อ่านทุกท่านติดตามคอลัมน์ร้อยแปดพันเก้าเรื่องราวสิ่งแวดล้อมของเราก็เท่านั้นละครับ ไม่มีอะไรมาก อีกอย่างเขียนเป็นตอนๆ ตอนสั้นๆก็สนุกดี ไม่รู้สึกว่าต้องมีภาระเยอะนะครับ ยังไงซะก็ขอให้ติดตามต่อนะครับ
ได้ฤกษ์เปิดตัวสักทีครับสำหรับคอลัมน์ใหม่
ภายในเวปไซด์ของศูนย์วิจัยและฝึกอบรมนิเวศวิทยา
อุตสาหกรรม ก็คงเป็นไปตามธรรมเนียมเช่นเคยนะครับ
ที่ผมเองในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ฯต้องเขียนประเดิมเป็น
บทความแรก เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย สร้างขวัญและกำลังใจให้
กับผู้ร่วมงานคนอื่นๆ หรือนักเขียนหน้าใหม่ที่ยังลังเลอยู่
ได้ลองจรดปลายนิ้วไปที่แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์
แล้วลองสร้างสรรค์ผลงาน ถ่ายทอดประสบการณ์ ผ่านตัวหนังสือ
เพื่อมาเผยแพร่ให้คนอื่นๆได้สัมผัสบ้าง
คอลัมน์นี้ที่ทางคณะผู้ดำเนินงานของศูนย์ฯได้ตั้งขึ้นมาก็มี
วัตถุประสงค์อย่างที่เกริ่นไว้ในตอนต้นนั่นแหละครับ วัตถุประสงค์
หลักเลยก็คืออยากให้มีพื้นที่สำหรับงานเขียน ทั้งเชิงวิชาการ
เชิงสร้างสรรค์ หรือจะเป็นเขียนเล่น เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้
ประสบการณ์ รวมถึงแลกเปลี่ยนทัศนคติ ของชุมชนที่มุ่งประเด็นในมิติ
ของสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ย้ำนะครับว่าคอลัมน์นี้อยากให้งานเขียน
ที่จะมาลงเป็นงานเขียนที่มีมิติทางสิ่งแวดล้อมเข้าไปผสมปนเปอยู่ด้วย
จะมากน้อยก็แล้วแต่คนปรุง ซึ่งก็คือผู้เขียนละครับ ว่าอยากให้เข้มข้นแค่ไหน
พูดถึงมิติทางสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน คงหลีกเลี่ยงได้ยากครับที่จะไม่มีการพูดถึงเลย โดยเฉพาะวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลก หรือ Global environmental crisis ที่ปะทุอยู่ควบคู่กับวิกฤตเศรษฐกิจ หรือ วิกฤตแฮมเบอเกอร์ที่ลุกลามอยู่ในปัจจุบันเช่นเดียวกัน ผมได้ยินนักธุรกิจในประเทศหลายๆคนพูดว่า ปีหน้านะเผาจริงแน่….!!! นั่นแสดงว่าปีนี้ก็กลายเป็นศพไปเรียบร้อยแล้วละครับ มิเช่นนั้นคงจะเผาไม่ได้ จริงไหมครับ หลายๆคนยังไม่รู้สึก แต่ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมนะ รับทราบและได้รับผลกระทบมาตั้งแต่กลางปีแล้วละครับ
กลับมาที่ประเด็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมดีกว่าครับ หลายๆคนอาจจะยังสับสนอยู่ว่า ประเด็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมนั้นแบ่งออกได้เป็นกี่ระดับ และอะไรบ้าง ผมได้มีโอกาสไปนั่งฟังผู้เชี่ยวชาญทั้งใน และต่างประเทศ พูดสัมมนาเชิงวิชาการให้ฟังในหลายๆที่ พอที่จะสามารถสรุปออกมาตามความคิดตนเองได้ว่า วิกฤตสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันนี้แบ่งแยกระดับออกได้เป็น 3 ระดับครับ คือ วิกฤตสิ่งแวดล้อมระดับโลก วิกฤตสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาค (Regional environmental crisis) และวิกฤตสิ่งแวดล้อมระดับพื้นที่ (Local environmental crisis) ซึ่งวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในความสนใจมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นระดับโลกนั้นละครับ โดยประเด็นที่ถือเป็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมระดับโลกได้อยู่ 3 ประเด็นครับ ได้แก่
ประเด็นการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ (Depletion of Natural Resource)
ประเด็นวิกฤตพลังงาน (Energy Crisis) และสุดท้ายที่สุดฮอทฮิต ก็คือ
ประเด็นภาวะโลกร้อน (Global Warming)
ทั้ง 3 ประเด็นข้างต้นจัดเป็นประเด็นที่ถือว่าเป็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมในระดับโลกครับ ในระดับโลกในที่นี้ก็คงหมายถึงกระทบกับสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้ ไม่เว้นแม้แต่ พืช หรือสัตว์ครับ ในขณะที่ประเด็นที่จัดเป็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาค และระดับพื้นที่ ก็จะได้แก่ การลดลงของพื้นที่ป่าไม้ ปัญหาการขาดแคลนน้ำ การลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ ปัญหาการจัดการของเสีย เป็นต้น อธิบายอย่างนี้คงจะมองภาพวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ชัดเจนมากขึ้นนะครับ คราวหน้าผมจะเจาะลึกถึงรายละเอียดของประเด็นที่เป็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมระดับโลกทีละประเด็น ให้ผู้อ่านทุกท่านได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นครับ ที่ทิ้งท้ายอย่างนี้ก็เพราะอยากให้ผู้อ่านทุกท่านติดตามคอลัมน์ร้อยแปดพันเก้าเรื่องราวสิ่งแวดล้อมของเราก็เท่านั้นละครับ ไม่มีอะไรมาก อีกอย่างเขียนเป็นตอนๆ ตอนสั้นๆก็สนุกดี ไม่รู้สึกว่าต้องมีภาระเยอะนะครับ ยังไงซะก็ขอให้ติดตามต่อนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น