ในปัจจุบันประเทศไทยมีช้างอยู่ประมาณ 6,000 ตัว เป็นช้างบ้าน 3,000 ตัว ซึ่งร้อยละ 95 อยู่ในการครอบครองของเอกชน
แม้ว่าอัตราการเกิดของช้างบ้านจะเพิ่มขึ้นจากในอดีต เนื่องจากโครงการสัตวแพทย์สัญจรที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในช่วงหนึ่ง ทศวรรษที่ผ่านมา
แต่ในระยะยาว ประชากรช้างบ้านจะมีแนวโน้มลดลงเพราะส่วนใหญ่เป็นช้างที่มีอายุมากและอัตรา การตายของลูกช้างค่อนข้างสูง ปัญหาช้างบ้าน
ได้แก่ ช้างเร่ร่อนและการใช้ช้างในการทำธุรกิจท่องเที่ยวซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาช้าง บ้านได้ทั้งหมด การรณรงค์หาทุนที่ผ่านมาเน้นไปเพื่อการ
ดูแลสุขภาพของช้างและคำนึงถึงด้าน มนุษยธรรมมากกว่าการอนุรักษ์สัตว์ป่าแต่เพียงอย่างเดียว การจัดการกับปัญหาของช้างบ้านในอนาคต
ควรคำนึงถึงการอนุรักษ์สัตว์ป่าควบคู่ กับการส่งเสริมวัฒนธรรมความสัมพันธ์ระหว่างคนกับช้าง รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของควาญช้าง
ส่วนช้างป่ามีประมาณ 3,000 ตัว อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างน้อย 65 แห่ง ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในหย่อมป่าและเป็นประชากรขนาดเล็ก
(น้อยกว่า 100 ตัว) มีกลุ่มป่า 6 แห่ง ที่สามารถดำเนินการบริหารจัดการเพื่อให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ช้างป่า คือ การที่ช้างป่าออกมาทำลาย
พืชไร่ของราษฎร แต่เนื่องจากการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วโดยโครงการพระราชดำริ การที่ช้างป่าส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์และทัศนคติ
ที่ดีของราษฎรในท้อง ถิ่นที่มีต่อช้าง ทำให้ปัญหาไม่รุนแรงเท่าที่ควร แต่แนวโน้มของปัญหาในอนาคตจะเกิดบ่อยขึ้นและรุนแรงมากขึ้น
เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนช้างป่าในหลายพื้นที่ ความสำเร็จของการอนุรักษ์ช้างป่าจะขึ้นกับการลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคน
กับช้างโดยการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องและอยู่บนฐานของความ รู้และความเข้าใจเกี่ยวกับช้างป่าตลอดจนเศรษฐกิจและ
สังคมของราษฎรที่ได้รับ ผลกระทบในแต่ละพื้นที่
แม้ว่าอัตราการเกิดของช้างบ้านจะเพิ่มขึ้นจากในอดีต เนื่องจากโครงการสัตวแพทย์สัญจรที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในช่วงหนึ่ง ทศวรรษที่ผ่านมา
แต่ในระยะยาว ประชากรช้างบ้านจะมีแนวโน้มลดลงเพราะส่วนใหญ่เป็นช้างที่มีอายุมากและอัตรา การตายของลูกช้างค่อนข้างสูง ปัญหาช้างบ้าน
ได้แก่ ช้างเร่ร่อนและการใช้ช้างในการทำธุรกิจท่องเที่ยวซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาช้าง บ้านได้ทั้งหมด การรณรงค์หาทุนที่ผ่านมาเน้นไปเพื่อการ
ดูแลสุขภาพของช้างและคำนึงถึงด้าน มนุษยธรรมมากกว่าการอนุรักษ์สัตว์ป่าแต่เพียงอย่างเดียว การจัดการกับปัญหาของช้างบ้านในอนาคต
ควรคำนึงถึงการอนุรักษ์สัตว์ป่าควบคู่ กับการส่งเสริมวัฒนธรรมความสัมพันธ์ระหว่างคนกับช้าง รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของควาญช้าง
ส่วนช้างป่ามีประมาณ 3,000 ตัว อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างน้อย 65 แห่ง ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในหย่อมป่าและเป็นประชากรขนาดเล็ก
(น้อยกว่า 100 ตัว) มีกลุ่มป่า 6 แห่ง ที่สามารถดำเนินการบริหารจัดการเพื่อให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ช้างป่า คือ การที่ช้างป่าออกมาทำลาย
พืชไร่ของราษฎร แต่เนื่องจากการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วโดยโครงการพระราชดำริ การที่ช้างป่าส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์และทัศนคติ
ที่ดีของราษฎรในท้อง ถิ่นที่มีต่อช้าง ทำให้ปัญหาไม่รุนแรงเท่าที่ควร แต่แนวโน้มของปัญหาในอนาคตจะเกิดบ่อยขึ้นและรุนแรงมากขึ้น
เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนช้างป่าในหลายพื้นที่ ความสำเร็จของการอนุรักษ์ช้างป่าจะขึ้นกับการลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคน
กับช้างโดยการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องและอยู่บนฐานของความ รู้และความเข้าใจเกี่ยวกับช้างป่าตลอดจนเศรษฐกิจและ
สังคมของราษฎรที่ได้รับ ผลกระทบในแต่ละพื้นที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น